
โรงเรียนราษฎร์ประดิษฐ์วิทยา ได้รับอนุญาตจัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๗ โดยนายประดิษฐ์ และนางวัลลภา ไตรสรณะศาสตร์เป็นผู้ก่อตั้ง เดิมมีลักษณะเป็นเรือนไม้ชั้นเดียว เปิดสอน ระดับชั้นเด็กเล็ก ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ มีจำนวนนักเรียน ๕๘ คน ครู ๔ คน มีนางวัลลภา ไตรสรณะศาสตร์ เป็นผู้บริหาร ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้ขยายการศึกษาภาคบังคับ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
ปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ได้โอนกิจการโรงเรียนให้นายวุฒิ ไตรสรณะศาสตร์ เป็นผู้รับใบอนุญาต แต่งตั้งนางสมศรี ไตรสรณะศาสตร์ เป็นครูใหญ่ และผู้จัดการโรงเรียน โรงเรียนมีการจัดระบบการบริหารแบบกระจายอำนาจ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง และชุมชน
ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการกองทุนเงินกู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นกองทุนหมุนเวียน ของสำนักบริหารงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จำนวนเงิน ๓ ล้านบาท สร้างอาคาร ๔ ชั้น ๑๘ ห้องเรียน ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๘ โดยนายทวีศักดิ์ เสนาณรงค์ ที่ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในขณะนั้น
ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้พัฒนาคุณภาพการศึกษาปรับระบบการสอนด้านเทคโนโลยี โดยเปิดหลักสูตรการสอนคอมพิวเตอร์ จำนวน ๑ ห้องเรียน และห้องปฏิบัติการทางภาษา ๑ ห้องเรียน และทำการสร้างรั้วรอบโรงเรียน
ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้จัดหลักสูตรเสริมสร้างทักษะด้านร่างกาย โดยสร้างสระว่ายน้ำขนาด ๑๒ x ๒๕ ตารางเมตร สอนการว่ายน้ำแก่นักเรียนระดับชั้นอนุบาล ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ และเข้าร่วมโครงการรักษ์สิ่งแวดล้อม “โครงการรุ่งอรุณ” ร่วมกับสำนักงานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้ปรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีพุทธศักราช ๒๕๔๔ จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา และได้รับการประเมินมาตรฐานคุณภาพทางการศึกษาภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) องค์การมหาชน รอบแรกในระดับดี
ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๔๖
ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ โรงเรียนได้สร้างอาคารเรียนเพิ่ม ๑ หลัง ๔ ชั้น ๑๘ ห้องเรียน ขนานกับอาคารเรียนเดิมเป็นรูปตัวแอล (L) ชื่ออาคารไตรสรณะศาสตร์ และขอเปิดขยายชั้นเรียนเพิ่มระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๘๙ คน ได้จัดชั้นเรียนเป็น ๓ ห้องเรียน
ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ขยายหลักสูตรการสอนคอมพิวเตอร์ ห้องเรียนที่ ๒ เพิ่มจำนวนเครื่อง ๔๒ เครื่อง ร่วมกับบริษัทบางกอกซอฟแวร์
ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ สำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) องค์การมหาชนเข้าประเมินคุณภาพการศึกษา รอบสอง เมื่อวันที่ ๒๗ – ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ มีผลการประเมินระดับปฐมวัย อยู่ในระดับดีมาก ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาอยู่ในระดับดี
ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ เข้าร่วมโครงการพัฒนาสื่อหลักสูตรปฐมวัย ร่วมกับบริษัทฐานวิจัยการเรียนรู้
ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้ขออนุญาตขยายระดับชั้นเรียนเตรียมอนุบาล และขยายอายุนักเรียนเป็น ๒ ปี ถึง ๑๘ ปี และพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ โรงเรียนมีอาคารเรียนทั้งสิ้น ๓ หลัง มีครูต่างชาติ (ฟิลิปปินส์) จำนวน ๒ คน ทำการสอนวิชาภาษาอังกฤษ
ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ โรงเรียนได้ทำการต่อเติมอาคารเพิ่ม ๓ ห้องเรียน ๓ ชั้น เพื่อรองรับนักเรียนที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น
ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ โรงเรียนกำลังก่อสร้างอาคารเรียน ๔ ชั้น ๙ ห้องเรียน ใต้ถุนโล่ง เป็นอาคารห้องสมุด ให้ชื่ออาคารว่า “อาคารวัลลภา” และในปีเดียวกันได้รับการประเมินคุณภาพรอบสาม ซึ่งได้ผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในจากต้นสังกัด สช. เมื่อวันที่ ๒๕ – ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ และมีการประเมินภายนอก ในวันที่ ๒๗ – ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ สำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) องค์การมหาชนเข้าประเมินคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน ผ่านการรับรองในระดับดี – ดีมาก
ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ อาคารเรียน ๔ ชั้น อาคารวัลลภา ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ ประกอบด้วยห้องสมุด ห้องประชุม และห้องจัดกิจกรรมอื่น ๆ
ปี พ.ศ. ๒๕๕๖ โรงเรียนได้ปรับปรุงห้องคอมพิวเตอร์ใหม่โดยจัดเปลี่ยนระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ เพิ่มระบบโปรแกรมการเรียนตามหลักสูตรคอมพิวเตอร์ และโต๊ะเก้าอี้ใหม่ จำนวน ๔๒ ชุด งบประมาณ ๑.๒ ล้านบาท
ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ โรงเรียนมีการปรับปรุงสนาม ทาสีใหม่ และพัฒนาสนามเด็กเล่น ตกแต่งด้วยหญ้าเทียมพร้อมเครื่องเล่น ใช้งบประมาณ จำนวน ๖ แสนบาท
ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ โรงเรียนได้ขยายพื้นที่บริเวณหน้าโรงเรียนเพิ่ม จำนวน ๑๔๗ ตารางเมตร งบประมาณ ๑๐ ล้านบาท ปัจจุบันโรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นเตรียมอนุบาล ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น ๑,๑๕๔ คน ครู ๔๕ คน ครูอัตราจ้าง ๑๐ คน ครูพี่เลี้ยง ๓ คน ครูต่างชาติ ๒ คน นักการภารโรง ๓ คน แม่ครัว ๘ คน รวม ๗๑ คน
ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ โรงเรียนได้ปรับเปลี่ยนสร้างบรรยากาศในห้องเรียนใหม่โดยจัดเปลี่ยนโต๊ะเรียน เก้าอี้ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ และมัธยมศึกษาปี่ที่ ๑ จำนวน ๒๐๕ ชุด งบประมาณสองแสนห้าหมื่นบาท และติดตั้งเครื่องปรับอากาศในชั้นอนุบาล ๑ ทุกห้องเรียน งบประมาณสองแสนบาท
ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้มีการก่อสร้างอาคาร MUSIC CENTER ใช้เป็นห้องประกอบการเรียนดนตรี 3 ชั้น งบประมาณสร้างจำนวน สองล้านหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท
ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ มีการปรับปรุงห้องน้ำทุกชั้น ติดตั้งระบบ INTERNET และพัฒนาบรรยากาศสิ่งแวดล้อม งบประมาณหนึ่งล้านบาท
- ปรับปรุงระบบห้องสมุดให้มีความทันสมัยมากขึ้น โดยใช้ระบบ Mas School งบประมาณหกหมื่นบาท
- ทาสีอาคารใหม่ทั้งหมด งบประมาณเก้าหมื่นห้าพันบาท
- เพิ่มเครื่องปรับอากาศในระดับอนุบาล จำนวน ๑๐ ห้องเรียน งบประมาณหนึ่งแสนแปดหมื่นบาท
ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ทำรั้วรอบด้านข้างอาคารไตรสรณะศาสตร์
- ปรับหลักสูตรสถานศึกษาตามกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ชั้น ป.๒, ป.๕ และ ม.๒
- จัดทำห้องเสริมสมรรถนะด้วย IPAD ๑ ห้อง
ปี พ.ศ. ๒๕๖๓ จัดสร้างอาคารเอนกประสงค์แบบหลังคาโค้งใช้โครงสร้างขนาดกว้าง ๑๘.๕๐ เมตร ยาว ๒๒.๕๐ เมตร ด้วยระบบ Lock Seaming งบประมาณ ๑,๗๕๘,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านเจ็ดแสนห้าหมื่นแปดพันบาทถ้วน)
- จัดซื้อเครื่องผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ ใช้งบประมาณ ๑๓๐,๐๐๐ บาท
- ติดตั้งโทรทัศน์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาจำนวน ๙ เครื่อง ใช้งบประมาณ ๖๑,๖๙๐ บาท
- พัฒนาหลักสูตรการสอนภาษาจีนร่วมกับบริษัท Thai Zhong Wen (Chinese Singing & Speaking Pro)
ปีการศึกษา ๒๕๖๓ มีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น ๑,๒๕๔ คน ครูบรรจุ ๔๙ คน อัตราจ้าง 4 คน
ลูกจ้าง ๓ คน และครูต่างชาติ ๒ คน